วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

ตุ๊กตาโยกเยก

         วันนี้จะนำวิธีทำตุ๊กตาโยกเยก มาฝาก เรื่องง่าย ๆ จากแกนกระดาษและจานกระดาษ ที่สามารถนำมาทำเป็นของเล่นให้เด็ก ๆ ได้อย่างน่ารัก ของเล่นชิ้นนี้เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัย 2-3 ปี ลองนำไปปรับใช้ตามความเหมาะสมนะคะ ^^ ไม่ยากอย่างที่คิดและเสริมสร้างทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็กให้กับเด็กๆด้วยค่ะ


อุปกรณ์ที่ต้องใช้ ได้แก่ กระดาษสี จานการะดาษ แกนกระดาษ และลูกตาพลาสติกค่ะ





เจาะรูกลม ๆ ตรงกลางแกนกระดาษให้มีขนาดเท่ากับแกนกระดาษ




ใส่แกนกระดาษในรูกลมที่เจาะไว้
                                     



พับจานกระดาษลงแล้วใช้เยื่อกาวติดไว้กับแกนกระดาษ ทั้งสองด้าน หน้าหลัง




เมื่อติดด้วยเยื่อกาวจะได้ลักษณะตามที่เห็น
                                     



ใช้กระดาษสีทำเป็นกรวยเพื่อใช้เป็นหมวกของตุ๊กตา
                                     



ใส่หมวกให้แกนกระดาษทิชชู




ตกแต่งด้วยลูกตา และลวดลายตามต้องการ 




ได้ตุ๊กตาโยกเยกจากแกนกระดาษทิชชู

ทำตุ๊กตาโยกเยกหลายๆตัว ให้เด็กๆเล่นพร้อมๆกัน




นำไปต่อยอดเพิ่มมูลค่าและทำให้น่าสนใจด้วยการใช้ 
ผ้าสักหลาดมาหุ้มจานกระดาษ จะทำให้ได้ตุ๊กตาโยกเยกที่มีสีสันสวยงาม



                  ง่ายๆแค่นี้เองค่ะ ตุ๊กตาโยกเยก ทุกคนสามารถนำไปสอนให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างดีแน่นอนเพื่อเป็นการเสริมสร้างจินตนาการ และพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 
                 1. พัฒนาการด้านร่างกาย คือ การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก 
                 2. พัฒนาการด้านอารมณ์ คือ ความสนุกสนานเพลิดเพลิน
                 3. พัฒนาการด้านสังคม คือ การที่เด็กๆนำตุ๊กตามาเล่นด้วยกัน ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดี
                 4. พัฒนาการด้านสติปัญญา คือ เด็กเกิดการคิด และทักษะในการสร้างสรรค์

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

สุนัขแสนซน จากกระดาษลัง

               ไปเจอบทความของครูปฐมวัยมาท่านหนึ่งค่ะ เป็นการประดิษฐ์สื่อการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยจากกระดาษลัง... เห็นแล้วเกิดโดนใจมาก และคิดว่ามันน่ารักดี เลยจะมาแบ่่งปันวิธีการทำให้ชมกันค่ะ 

               เนื่องจากกระดาษลังนั้นหาง่ายมากๆ และคิดว่ามีติดบ้านกันทุกหลัง และไม่รู้ว่าจะนำไปทำอะไรดี เลยจะมาเสนอ "สุนัขแสนซน" จากกระดาษลัง โดยวิธีทำนั้นไม่ยากเลย และสามารถนำไปสอนเด็กๆทำตามได้ด้วยนะคะ   .........มาดูกันดีกว่าค่ะ ว่าทำอย่างไร.......





นำกระดาษลังเหลือใช้มา 1 แผ่นค่ะ




ตัดกระดาษตามนี้นะคะ 




ทากาวบริเวณตัวของสุนัข ส่วนหัว จะเป็นชิ้นที่อยู่กลาง




นำชิ้นที่ไม่มีหัว ไม่มีขา มาประกบส่วนที่ทากาวไว้ ทั้ง 2 ด้าน ด้านละ 2 ชิ้น





นำส่วนขามาประกบด้านนอกสุด ทั้งสองด้าน





จะได้ตัวสุนัขแบบนี้





นำกระดาษสีมาติดด้านนอกสุดเพื่อเตรียมตกแต่งลวดลาย ใช้กระดาษสีอะไรก็ได้นะคะ





วาดดวงตา ปาก จมูก และเติมลวดลายตามจิตนาการ






เสร็จแล้ววว... สุนัขแสนซนจากกระดาษลังไว้ให้เด็ก ๆ เล่นค่ะ^^




             นอกจากสุนัขแล้ว ยังสามารถดัดแปลงเป็นสัตว์ชนิดอื่นได้อีกมากมายนะคะ หรือจะเป็นสิ่งต่างๆก็ได้ค่ะ ตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละท่านเลย 


ขอให้สนุกกับชิ้นงานนะคะ สวัสดีค่ะ



วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

Fingers paint จากไข่ 1 ฟอง

สวัสดีค่ะ ทักทายทุคนด้วยรอบยิ้ม ^___^ 

ชื่อ จีน นะคะ เรียก พี่ เรียก น้องได้ตามสบาย

 ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะศึกษาศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย ปีที่1

สนใจกิจกรรมสร้างสรรค์มากเลยค่ะ อาจจะเป็นเพราะชอบแนวนี้อยู่แล้ว 


...อยากจะมาแชร์ สื่อการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย... 
...ให้นำไปใช่กับลูกน้อยที่บ้าน หรือจะนำไปสอนสำหรับครูปฐมวัย นะคะ..



 กิ จ ก ร ร ม นี้ ล ง ทุ น ต่ำ   ส นุ ก ม า ก  แ ล ะ ป ล อ ด ภั ย สู ง ค่ ะ 




A. เตรียมถังใสค่ะ ถ้าไม่มีก็ใช้ขวดน้ำขนาดใหญ่หน่อยก็ได้ค่ะ เอาคัตเตอร์เฉือนออกให้ได้ความสูงพอประมาณ ถ้าโปรในการใช้คัตเตอร์จะกรีดได้แบบไร้รอยคม แต่ถ้ามีรอยคม แนะนำให้ใช้เทปใสปิดกันรอยคมไว้ก่อนนะคะ

B. ไข่ใบเล็กๆ 1 ฟองค่ะ ฟองเดียวสามารถทำได้ประมาณ 4-5 คน ขึ้นอยู่กับขนาดกระดาษที่ให้เด็กทำด้วยค่ะ


C-D. ตอกไข่ใส่ถังใสที่เตียมไว้


E. เติมน้ำเปล่าลงไป 1 ช้อนชา ถ้ากลัวจะเหม็นคาวไข่ก็สามารถเติมกลิ่นลงไปได้เล็กน้อยนะคะ แต่จริงๆถ้าเป็นไข่สดใหม่จะไม่คาวเลยค่ะ 

F. ใช้สีผสมอาหารผสมลงไป (ในภาพตัวอย่าง Admin ไม่ได้ใช้สีผสมอาหาร สีเลยไม่สดเท่าไหร่ค่ะ สีผสมอาหารราคาถูกมาก 1 ซองใช้ได้หลายครั้งเชียวค่ะ)


G. เตรียมกระดาษสำหรับละเลงค่ะ ไม่จำเป็นต้องเป็นกระดาษขาวนะคะ กระดาษห่อของก็น่าตื่นตาตื่นใจไม่แพ้กันค่ะ ที่สำคัญคือขอให้เนื้อกระดาษหนาสักหน่อย A4 ธรรมดาไม่แนะนำค่ะ กระดาษจะยุ่ย

H. ให้เด็กๆขยำสีและไข่และน้ำให้เข้ากันจนเนียนกริ๊บเลยนะคะ สนุกมากๆค่ะ ได้ใช้ประสาทสัมผัสเต็มๆ

I. ละเลงเลยค่าาาาาา 


กิจกรรมนี้เหมาะกับเด็กวัยเตาะแตะนะคะ (0-3ขวบ) เด็กวัยนี้ชอบใช้ทั้งมือ แขน ศอก 


และอาจหยิบสีเข้าปากในการสำรวจสิ่งต่างๆ


 ดังนั้นถ้าเด็กไม่แพ้ไข่ กิจกรรมนี้ปลอดภัยแน่นอนค่ะ ล้างออกก็ง่ายมากๆนะคะ 

คุณครูก็ลองดูนะคะ ^^